30 กันยายน 2552

- วัดป่ามหาวัน





คณะพระธรรมทูตเดินทางไปกูฏาคารวัดป่ามหาวัน อันเป็นสถานที่
พระกีสาโคตมี เดินทางมาจากลุมพินี เพื่อขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอบวชเป็นภิกษุณี
ในพระพุทธศาสนา

- ปาวาลเจดีย์





 คณะพระธรรมทูตเดินทางไปปาวาลเจดีย์ และทำวัตรเช้าที่ปาวาลเจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่ปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะเดินทางมาปรินิพพานที่กุสินารา 

- เมืองไวสาลี


วัดไทยไวสาลี





   แล้วคณะสงฆ์โดยการนำของพระสัพพกามีจึงจัดให้มีการประชุมสังคายนาครั้งที่ ๒ กันขึ้น ที่ว่าลุการาม (อารามดินทราย)

- วาลุการาม






วาลุการาม เมืองไวสาลี สถานที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๒



สังคายนาครั้งที่ ๒ (The Second Buddhist Synod)
     แล้วคณะสงฆ์โดยการนำของพระสัพพกามีจึงจัดให้มีการประชุมสังคายนาครั้งที่ ๒ กันขึ้น ที่ว่าลุการาม (อารามดินทราย) เมืองเวสาลีในการประชุมครั้งนี้ มีพระอรหันต์เข้าร่วมประชุมถึง ๗๐๐ รูป ทำให้การประชุมไม่ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เพราะเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมมากไป ต้องใช้เวลาถกเถียงกันเป็นเวลานาน ที่ประชุมจึงได้ตกลงเลือกเอาพระขีณาสพที่มาจากประเทศตะวันออก ๔ รูป คือ


     ๑. พระสัพพกามี ๒. พระสาฬหะ ๓. พระกุชชโสภิตะ ๔. พระวาสภคามิกะ
ทำหน้าที่วินิจฉัยอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นและจากประเทศ ตะวันตก (เมืองปาวา) อีก๔ รูป คือ

     ๑. พระเรวตะ ๒. พระสาณสัมภูตะ ๓. พระยศกากัณฑบุตร ๔. พระสุมนะ
มีหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายสงฆ์ธรรมวาที มีหน้าที่เสนออธิกรณ์ต่อสงฆ์

     รวมทั้งหมด ๘ รูป เป็นผู้ทำการสาธยาย พระธรรมวินัยและนำอธิกรณ์เข้าสู่สงฆ์เพื่อระงับ และในจำนวน ๘ รูปนี้ ๖ รูป เป็นลูกศิษย์ของพระอานนท์คือ พระสัพพกามี, พระเรวตะ, พระกุชชโสภิตะ, พระสาณสัมภูตะและพระยศกากัณฑบุตร อีก ๒ รูป คือ พระวาสคามิกะ และพระสุมนะ เป็นลูกศิษย์ของพระอนุรุทธะ ที่ประชุมได้ตกลงแต่งตั้งให้ ๑. พระอชิตะ เป็นผู้จัดสถานที่ ประชุมสังคายนา ๒.พระสัพพกามี เป็นประธานในที่ประชุม



- วัดอโศการาม






วัดอโศการาม เมืองปัตนะซึ่งเป็นสถานที่ทำสังคายนาที่ ๓ โดยมีพระเจ้าอโศกมหาราช
เป็นผู้อุปถัมภ์ในการทำสังคายนา มีพระสารีบุตรติสสะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์


- มหาวิทยาลัยนาลันทา










ออกเดินทางไปมหาวิทยาลัยนาลันทา โดยมีพระดร.มหาพันธ์ เป็นผู้บรรยายถึงความเป็น
มาของ  มหาลัยนาลันทา และหลวงพ่อองค์ดำ


- ถ้ำสัตบรรณคูหา





คณะพระธรรมทูต เดินทางไปตโปธาราม ถ้ำปิผลิ ถ้ำสัตบรรณคูหา อันเป็นสถานที่ทำปฐมสังคายนาแห่งแรก
ภายหลังพระพุทธเจ้าทรงปริพพานได้ ๓ เดือน เมื่อคณะขึ้นไปถึงถ้ำสัตบรรณคูหา พระธรรมวรนายกได้นำพาสวดเจริญพุทธมนต์
 และเจริญจิตภาวนา 

- วัดไทยนาลันทา





 คณะพระธรรมวรนายก พระครูปลัดนายกวัตน์ พระครูธรรมธรสุรสิทธิ์ 
คณะคุณศุภชัย วีรภุชงภ์ คุณสายชน แก้ว ประเสริฐ คุณแอนนา สุขสุกรี และคณะพระธรรมทูต เดินทางมาฉันภัตตราหารเพลที่
วัดไทยนาลันทาโดยมี พระดร.มหาพันธ์ เป็นเจ้าอาวาสเป็นผู้กล่าวให้การต้อนรับ และจัดห้องให้พัก 


- วัดเวฬุวัน






คณะพระธรรมทูตเดินทางไปวัดเวฬุวัน ก่อนถึงได้แวะถ่ายรูปที่วัดชีวกัมพวัน ซึ่งเป็นวัดที่หมอชีวกโกมารภัทร ถวายพระพุทธเจ้า 
 และพระธรรมวรนายกได้บรรยายถึงความเป็นมาของวัดเวฬุวัน จากนั้นนำพาคณะพระธรรม ทูตมนต์เจริญจิตภาวนา ในขณะที่สวดมนต์อยู่นั้นฝนห่าใหญ่ได้ตกลงมาเฉพาะบริเวณวัดเวฬุวันอย่างหน้าอัศจรรย์ ซึ่งบริเวณรอบนอกไม่ตกเลย 

- เขาคิชกูฏ





- เขาพรหมโยนี







คณะพระธรรมวรนายก และพระราชรัตนรังษี พระครูปลัดนายกวัตน์ พระครูธรรมธรสุรสิทธิ์ คณะคุณศุภชัย วีระ ภุชงภ์ คุณสายชน แก้วประเสริฐ คุณแอนนา สุขสุกรี และคณะพระธรรมทูตเดินเดินทางไปพรหมโยนี อันเป็นสถานที่พระพุทธองค์ภายหลังจากตรัสรู้แล้ว ได้เดินทางมาแสดงธรรมแก่ชฏิล ๓ พี่น้อง ซึ่งพระธรรมวรนายกได้นำพาสวดมนต์ในบทอาทิตปริยายสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยความร้อน คือ โทสักคิ ไฟคือ โทษะ โมหักคิ ไฟคือโมหะ ราคักคิ ไฟคือราคะ ซึ่งไม่มีอะไรที่ร้อนไปกว่าไฟทั้ง ๓ กอง แม้แต่ พระอาทิตย์ที่ว่าร้อนยังไม่เท่าไฟทั้ง ๓ กองนี้ และได้นำพาคณะพระธรรมทูตนั่งเจริญจิตภาวนา

- บ้านนางสุชาดา







คณะพระธรรมวรนายก และพระราชรัตนรังษี พระครูปลัดนายกวัตน์ พระครูธรรมธรสุรสิทธิ์ คณะคุณศุภชัย วีรภุชงภ์ คุณสายชน แก้วประเสริฐ คุณแอนนา สุขสุกรี คณะพระธรรมทูตเดินทางไปบ้านนางสุชาดา และสถานที่ถวายข้าวมธุปายาสแก่   พระโพธิสัตว์ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า 

- ดงคศิริ









เดินทางถึงดงคสิริ คณะคณะพระธรรมวรนายก และพระราชรัตนรังษี, พระครูปลัดนายกวัตน์ พระครูธรรมธร สุรสิทธิ์,
 คณะคุณสุภชัย วีรชงภ์, คุณสายชน แก้วประเสริฐ,คุณแอนนา สุขสุกรี และคณะพระธรรมทูต เดินทางขึ้นเขาดงคสิริ
 และพระธรรมวรนายกบรรยายถึงความสำคัญของสถานที่บำเพ็ญตนของพระโพธิสัตว์ก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และนำสวดมนต์เจริญจิตภาวนา ร่วมกันถ่ายภาพหมู่ และลง มาทำบุญที่วัดธิเบต

- ต้นพระศรีมหาโพธิ์








คณะเดินทางไปกราบสักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมีพระธรรมวรนายก เป็นประธานในการนำสวดมนต์ไหว้พระ เดินเวียนรอบพระเจดีย์ และเจริญจิตภาวนา บรรยายถึงประวัติของต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระเจดีย์พุทธคยาและหัวหน้ากลุ่มพระธรรมทูตกล่าวแสดงความปีติดีใจที่ได้มาสักการะสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

29 กันยายน 2552

- วัดไทยพุทธคยา


วัดไทยพุทธคยา



คณะพระธรรมทูตเดินทางถึงวัดไทยพุทธคยา และ สวดมนต์ไหว้พระ

21 กันยายน 2552

- กำแพงเมือง







- แดนมหามงคลชัย












- บ้านนางวิสาขา






นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ เป็นบุตรของ ธนญชัยเศรษฐี มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี มีปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี  นางวิสาขามีอีกชื่อหนึ่งว่า นางวิสาขามิคารมารดา เป็นภรรยาของมิคารมหาเศรษฐีในเมืองสาวัตถี ท่านเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เป็นผู้ถวายบุพพาราม และโลหะปราสาทหลังแรกแก่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ยกย่องนางวิสาขาว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา
เมื่อนางวิสาขา มีอายุได้ 7 ขวบ ท่านเมณฑกเศรษฐี (ปู่) ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมาก กำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ก็เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด



ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง 5 อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี แล้วจึงจะยอมแต่งงาน
เบญจกัลยาณี หมายถึง ความงามของสตรี 5 อย่าง ได้แก่
  • เกสกลฺยาณํ (ผมงาม) คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
  • มงฺสกลฺยาณํ (เนื้องาม) คือ หญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
  • อฏฺฐิกลฺยาณํ (กระดูกงาม) คือ หญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
  • ฉวิกลฺยาณํ (ผิวงาม) คือ หญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
  • วยกลฺยาณํ (วัยงาม) คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง 10 ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว
บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถามว่า หญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย

- ยมกปาฏิหารย์



ยมกปาฏิหาริย์สถูป เมืองสาวัตถี สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์



ประวัติ

เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยน้ำปานะเสร็จ ทรงรับสั่งให้นายคัณฑะนำเม็ดมะม่วงไปปลูก เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ลงบนปากหลุม เม็ดมะม่วงก็เจริญเติบโตออกผลเต็มต้นเป็นอัศจรรย์ ต้นมะม่วงนั้นมีชื่อว่า คัณฑามพฤกษ์ ตามชื่อของนายคัณฑะ พระพุทธองค์ทรงเนรมิตจงกรมแก้วในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ (อ่านว่า ยะ - มะ - กะ - ปา - ติ - หาน) หรือการทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิดเป็นคู่ ๆ โดยวิธีต่าง ๆ คือ มีท่อน้ำและท่อไฟพุ่งมา จากส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายสลับกันไป ท่อไฟที่พุ่งออกมานั้นมีฉัพพรรณรังสี คือ มี 6 สีสลับกัน เมื่อกระทบกับสายน้ำมีแสงสะท้อนสวยงามมาก ทรงเนรมิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงให้พุทธเนรมิตแสดงพระอาการสลับกันกับพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงยืน พระพุทธเนรมิตก็เสด็จจงกรม เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจงกรม พระพุทธเนรมิตก็ทรงยืน เมื่อทรงตั้งปัญหาถามพระพุทธเนรมิตก็ตรัสวิสัชนาแก้ สลับกันไป พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์สลับกับการแสดงพระธรรมเทศนา พุทธบริษัททั้งหลายเกิดความเลื่อมใสและได้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก

- พระองคุลิมาลเถระ







ที่นี่บ้านองคุลิมาล


องคุลีมาร หรือ พระองคุลีมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ องคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า องคุลิมาล แปลว่า นิ้วเป็นพวง (องคุลิ แปลว่า ข้อนิ้ว, นิ้ว มาล แปลว่า พวง)
แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ มันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้หนึ่งพันคนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล จนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก

20 กันยายน 2552

- อนาถบิณฑิกเศรษฐี








อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เป็นชาวเมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เดิมท่านมีนามว่าสุทัตตะเศรษฐี เกิดในตระกูลของสุมนะเศรษฐีผู้เป็นบิดา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก (แปลตามศัพท์ว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคนยากจน)
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปค้าขายและได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงมีศรัทธาสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเงินจำนวนมาก ท่านได้เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อย่างดีมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดพระเชตวันที่ท่านสร้างมากกว่าที่ประทับใด ๆ ถึง 19 พรรษา

เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว

    เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน ( บางแห่งว่า ๕ เดือน ) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันปราณีตแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล

   อนาคบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจน และการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั้งทรัยพ์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ จนในที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดยากลำบากไปด้วย ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันปราณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหา พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า



โปรดติดตาม "ชมรมโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐" www.by980.org

บอกทางบุญ ค้ำจุนโครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไทยไปศึกษาและปฎิบัติธรรมเชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ

๑.ด้วยความร้อนยังระอุแรง แม้เม็ดฝนโปรยลงมาเป็นระยะ ในห้องสัมนาก็ดี สถานที่ถวายน้ำปานะพระก็ดี ห้องพยาบาลเกี่ยวกับสงฆ์อาพาธก็ดี ยังต้องขอเสริมเติมอุปกรณ์ให้ได้ใช้สอย เพื่อประโยชน์และความสำเร็จร่วมกัน ขอเชิญท่านเศรษฐีใจบุญร่วมเป็นเจ้าภาพ ดังนี้

๑.พัดลม ติดเพดาน จำนวน ๘ เครื่อง

๒.พัดลมตั้งโตั๊ะ จำนวน ๖ เครื่อง

๓.ผ้าขาวสำหรับปูเตียงพยาบาล ๕ ชุด

๔.หมอน กับที่แขวนน้ำเกลือ ๕ ชุด

๒.บุญอันเกิดจากการให้ธรรมะเป็นทาน มีอานิสงส์มาก ทางโครงการมีผู้ร่วมทำบุญอำนวยความสะดวกโดยสมบูรณ์แล้ว เพื่อผลของบุญกิริยาวัตถุให้ไพศาล จึงขอเชิญท่านร่วมอนุโมทนากองทานถวายภัตตาหาร ซึ่งพระสงฆ์ท่านฉันในบาตรทุกวัน ออกบิณฑบาตพร้อมกัน ฉันพร้อมกัน ขอเชิญทำบุญร่วมกันดังนี้

๑.ข้าวสาร อาหารแห้ง ผักสด เครื่องปรุง เข้าโรงทาน

๒.น้ำปานะ กาแฟ โอวัลติล นมข้น น้ำตาล

๓.ยารักษาโรค เข้ากองทุนโรงพยาบาล และยาสำหรับสงฆ์อาพาธ

๔.แสงสว่าง น้ำมัน ไฟฟ้า เครื่องปั่น และยานพาหนะ

๓.พระสงฆ์อยู่ร่วมกันจำนวนมาก ถึง ๖๐ องค์ นับด้วยจำนวนภิกษุมีมากที่สุด ขอเชิญอาสาสมัครไปร่วมออกแรงทำบุญ แผนกเอกสาร อาหาร น้ำปานะ ที่พักอาศัย และพยาบาล ใครประสงค์จะทำงานออกแรงทำบุญ ขอเชิญติดต่อได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

การติดต่อกับโครงการ
ประธานโครงการฯ ท่านเจ้าคุณ พระราชรัตนรังษี(+91)-99-3587-7500
คุณสุภชัย วีระภุชงค์ หรือ นายสราวุฒิ ชลออยู่
ธนาคารธนชาติ สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 011-2-0-4526-3
e-mail: pranee_ch@thainakorn.com Phone:02-5559999ต่อ 1124
ฝ่ายเลขาตัวแทนประสานงาน +91 96-9583-8624
Email: kusinara980@gmail.com, bodhigaya980@gmail.com
Homepage: http://bodhigaya980/blogspot.com
http://www.by980.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ ๘ พ.ย.๒๕๕๒ พิธีปิดโครงการฯ

  • ๑๑ พ.ย.๒๕๕๒ ออกจากสถานีรถไฟโมกุลสราย-เฮาร่าห์ สนามบินกัลกัตต้า
  • ๑๐ พ.ย.๒๕๕๒ เดินทางไปยังพาราณสี เพื่อขึ้นรถไฟ
  • ๘ พ.ย.๒๕๕๒ พิธีปิดโครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไทยไปศึกษาและปฏิบัติธรรมเชิงลึก ณ แดนพุทธภูมิ
  • ๒๐-๒๕ ตุ.ค. ๒๕๕๒ ศึกษาวิเคราะห์สรุปงานอบรมโครงการของแต่ละกลุ่ม
  • ๑๘ - ๑๙ ตุ.ค. ๒๕๕๒ เดินทางสู่ พาราณสี ร่วมรับงานกฐินสามัคคี
  • ๑๖-๑๗ ตุ.ค.๒๕๕๒ ศึกษาวิเคราะห์งานภาคสนาม
  • ๑๕ ตุ.ค.๒๕๕๒ ตรวจร่างการยพระสงฆ์กลับจากพาราณสี
  • ๙-๑๔ ตุ.ค. เดินทางสู่ พาราณสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา แม่น้ำคงคา รามนคร
  • ๖ ตุ.ค.คุณนวลจันทร์ เพียรธรรม NC ทัวร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล กับพระสงฆ์